แก้นอนกรน ด้วยการใช้เตียงไฟฟ้า

 คุณกำลังประสบปัญหา นอนกรน อยู่หรือเปล่าคะ? อย่างเวลานอนกับครอบครัวหรือเพื่อน มักจะโดนบ่นว่าคุณนอนกรนเสียงดังจนพวกเขานอนไม่หลับ ซ้ำร้ายอาการนอนกรนยังเป็นต้นเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิตเลยล่ะค่ะ แล้วจริงหรือไม่ว่า การใช้เตียงไฟฟ้า สามารถแก้อาการนอนกรนได้!? มาหาคำตอบในบทความนี้กันค่ะ

สารบัญ

นอนกรน เกิดจากอะไร? หากปล่อยไว้จะอันตรายแค่ไหน?

         นอนกรน (snoring) เกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณคอคลายตัวและหย่อนตัวในขณะนอนหลับ ส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้สะดวก จึงทำให้ต้องหายใจแรงขึ้น ซึ่งลมหายใจที่เคลื่อนผ่านระบบทางเดินหายใจที่ตีบแคบ จะทำให้เกิดการสั่นหรือกระพือของเนื้อเยื่อคอ จึงเกิดเป็นเสียงกรนขึ้นมานั่นเอง

         อาการนอนกรนนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีปัจจัยต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้น ซึ่งการนอนกรน ส่งผลเสียทำให้อากาศไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ยิ่งหากนอนกรนเป็นประจำ จะกลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สมาธิและความจำไม่ดี การเผาผลาญลดลง ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานตามมา เป็นต้น

         แม้อาการนอนกรนแบบทั่วไป จะส่งผลเสียต่อปัญหาสุขภาพไม่รุนแรงนัก แต่ในบางคนกล้ามเนื้อบริเวณคอคลายตัวและหย่อนตัวมาก จนไปอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังปอดได้เลย ร่างกายจึงไม่สามารถหายใจได้ชั่วขณะหนึ่ง จนเกิดเป็น “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

         ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) นับเป็นภาวะผิดปกติของการหายใจ เกี่ยวเนื่องมาจากการนอนกรน ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้ หากปล่อยไว้จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ร้ายแรงตามมา โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในระยะยาวอาจอายุสั้นลง และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนกรน

  • เป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI) จะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าทั่วไป เนื่องจากไขมันจะไปสะสมอยู่บริเวณเนื้อเยื่อรอบคอหอย จนเบียดช่องหายใจให้แคบลง
  • อายุมากขึ้น ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดอาการนอนกรน เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณคอยานลง ทำให้ลิ้นและลิ้นไก่ หย่อนคล้อยลงมาปิดทางเดินหายใจ
  • มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน มีเนื้องอกในจมูก ต่อมทอนซิลโต โรคภูมิแพ้
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้กล้ามเนื้อคอหย่อน ส่วนบุหรี่จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจแย่ลง
  • หากมีความเหนื่อยล้ามาก ก็เกิดภาวะนอนกรนได้
  • พบว่าฮอร์โมนเพศก็มีผลต่อการนอนกรน โดยผู้ชายมีโอกาสนอนกรนมากกว่าผู้หญิง 6 – 10 เท่า และผู้หญิงจะมีอาการนอนกรนเพิ่มขึ้น เมื่อหมดประจำเดือน
  • นอนหงายเป็นประจำ นอนหลับไม่สบาย หรือมีสุขภาพการนอนที่ไม่ดี

ปัจจัยอื่น ๆ ที่พบได้ไม่บ่อยนัก

  • ช่องจมูกคดหรือตีบตัน
  • รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางเล็ก กระดูกโหนกแก้มแบน ลิ้นไก่ใหญ่ โคนลิ้นอ้วน
  • การรับประทานยาบางชนิด ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด

ผู้ที่มีภาวะนอนกรน ร่วมกับอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะในตอนเช้า เจ็บหน้าอกและสำลักในตอนกลางคืน ความดันสูง ความจำลดลง ร่วมทั้งมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรรีบไปพบแพทย์

เตียงไฟฟ้า สามารถแก้อาการ นอนกรน ได้จริงเหรอ?

         บางท่านอาจจะเคยได้ยินว่า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า สามารถช่วยแก้ไขอาการนอนกรนได้นั้น ต้องบอกเลยว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยได้ค่ะ ด้วยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนดังที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าสุขภาพและท่าทางการนอน เป็นหนึ่งปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการนอนกรน ดังนั้น เตียงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อสุขภาพในการนอนนั้น ก็ย่อมเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเลยค่ะ

         จากข้อมูลของ รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวไว้ว่า การนอนศีรษะสูงขึ้น ประมาณ 30 องศา จะช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจได้ ทำให้ลมหายใจสามารถเดินทางไปยังปอดได้อย่างสะดวก จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอาการนอนกรน ในผู้ที่มีภาวะนอนกรนแบบไม่รุนแรงได้

         การนอนศีรษะสูงนั้น โดยทั่วไปเรามักจะทำโดยการนำหมอนมาหนุนศีรษะให้สูงกว่าปกติ ในบางคนอาจจะมีการนอนหมอนที่ซ้อนกันมากกว่า 1 ใบ ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการนอนตกหมอนในระหว่างนอนหลับ ปวดต้นคอและไหล่ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก นอนหลับไม่สนิท ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการนอนกรนดีขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย

         เตียงไฟฟ้า หรือเตียงปรับระดับ จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่เข้ามาช่วยปรับสุขภาวะในการนอน ให้สะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ด้วยฟังก์ชันในการปรับท่าทางการนอนที่ถูกออกแบบเพื่อดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ ซึ่งเตียงไฟฟ้า ALLWELLL นั้น มีฟังก์ชันในการปรับท่าศีรษะสูง โดยจะช่วยทำให้ศีรษะของผู้นอนนั้นสูงขึ้น ในระดับที่เหมาะสม ทำให้หายใจได้สะดวก ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น ไม่เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพเหมือนกับการนอนหมอนซ้อนกันหลายใบ

         นอกจากนี้ ฟังก์ชันอื่น ๆ ของเตียงไฟฟ้า ALLWELL ยังช่วยในการดูแลสุขภาพ เช่น ท่าชันเข่า : ช่วยลดอาการบวมของขา ท่าศีรษะสูง-เท้าต่ำ : ช่วยในการบรรเทากรดไหลย้อน เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยในการอำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน เหมาะสมกับทั้งผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และผู้ที่รักสุขภาพ หมดกังวลได้ว่าซื้อมาแล้วจะไม่คุ้มค่า เพราะแม้อาการนอนกรนจะดีขึ้นแล้ว เตียงไฟฟ้าก็ยังสามารถให้ประโยชน์ จนรู้สึกว่าไม่ที่อยากกลับไปนอนเตียงแบบทั่วไปเลยล่ะค่ะ

เตียงไฟฟ้า ที่สามารถปรับศีรษะสูงได้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยดูแลและลดความเสี่ยงการเกิดอาการนอนกรน เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนแบบไม่รุนแรง

รวมเทคนิคแก้อาการ นอนกรน ด้วยตนเอง

         สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนแบบทั่วไป ไม่ได้มีภาวะร่วมร้ายแรงแบบที่กล่าวข้างต้น สามารถดูแลและลดความเสี่ยงการนอนกรนได้ด้วยวิธีเหล่านี้เลยค่ะ ซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นที่แพทย์มักใช้กับผู้ที่มีภาวะนอนกรน สามารถทำได้ด้วยตนเองง่าย ๆ ดังนี้เลยค่ะ

  • ปรับเปลี่ยนท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้นประมาณ 30 องศา และเปลี่ยนเป็นท่านอนตะแคง เพื่อไม่ให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น นอกจากนี้ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดน้ำหนัก ช่วยลดไขมันที่พอกรอบคอ ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอตึงมากขึ้น
  • พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ และไม่ควรดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ ก่อนเข้านอน
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อให้จมูกโล่งและหายใจได้สะดวกมากขึ้น
  • ทำความสะอาดห้องและเครื่องนอนบ่อย ๆ เพื่อลดไรฝุ่นและสิ่งสกปรก ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ
  • เพิ่มความชื้นภายในห้องนอน เพื่อไม่ให้สารหล่อลื่นระบบทางเดินหายใจแห้งและบวม
  • หลีกเลี่ยงยาชนิดที่ทำให้ง่วง เช่น ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยาแก้แพ้ (ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน)

วิธีข้างต้นเป็นเพียงการดูแลและลดความเสี่ยงเบื้องต้น หากทำแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

สรุป

         อาการนอนกรน เป็นภาวะหนึ่งที่อาจดูไม่ร้ายแรง แต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นประจำ จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ และในกรณีร้ายแรง อาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งนับว่าเป็นภาวะที่ร้ายแรงมากเลยล่ะค่ะ ซึ่งการใช้เตียงไฟฟ้า ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยปรับสุขภาวะในการนอน ดูแลและป้องกันปัญหานอนกรนได้ อย่างไรก็ตาม ควรทำตามเทคนิคแก้อาการนอนกรนที่บทความนี้นำมาฝาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *